วันพุธที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2559

การจัดทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์


รายงานโครงงานคอมพิวเตอร์ 
เรื่อง การสร้างหนังสืออีบุ๊ค
                              

  จัดทำโดย 
  นาย ประภวิษณ์ุ   วงค์คำจันทร์ เลขที่8
  เด็กหญิง ปวีณา   จูอุทัยตระกูล เลขที่21
  เด็กหญิง พิชญาภรณ์  รุ่งสันเทียะ เลขที่23
  เด็กหญิง ภัทราภรณ์   ปราบโจร เลขที่25
  นางสาว สุฑาทิพย์   พรมวิจิตร เลขที่33
  เด็กหญิง สุภาวิตา   ประเสริฐพงษ์ เลขที่36
  ชั้นมัธยมศึกษาปี่ที่3/6
                             
 นำเสนอ
     
ครูทิพวรรณ   เพรชกันหา



            รายงานโครงงานคอมพิวเตอร์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา                     
วิชาเทคโนโลย
 ภาคเรียนที่2 ปีการศึกษา2558
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพเทคโนโลยี (คอมพิวเตอร์)















บทที่1 
บทนำ
ที่มาและความสำคัญ
          คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตเริ่มเข้ามามีส่วนกับวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ มากขึ้น สถาบันการศึกษาทุกแห่งให้การสนใจในเรื่องการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์และ อินเตอร์เน็ตเพื่อประโยชน์การศึกษา การเรียนการสอนในปัจจุบันจึงเปลี่ยนสภาพไปค่อนข้างมากล้วนแล้วแต่ต้องใช้ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ประกอบการเรียนการสอนทำให้ปัจจุบันมีแหล่งความรู้เกิด ขึ้นมากมาย การเรียนรู้สมัยใหม่ใช้เวลาน้อยเรียนรู้ได้รวดเร็วมีการใช้ประโยชน์จากการ ใช้ทรัพยากรต่างๆร่วมกัน การแบ่งปันความคิดเห็นระหว่างกันด้วย ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในปัจจุบันตอบสนองการประยุกต์เข้ากับการเรียนการ สอนได้อย่างดี ปัจจุบันจึงได้นำคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตมาใช้เป็นสื่อใน การเรียนการสอน รวมถึงการเรียนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-learning ซึ่งเป็นโปรแกรมประยุกต์ทางเว็บไซต์ที่เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยนักเรียนสามารถเขาไปศึกษาค้นคว้าเรื่องราวต่าง ๆ ได้อย่างอิสระตามความสนใจได้ทุกเวลาหรือทุกสถานที่ นักเรียนสามารถแลกเปลี่ยนแนวคิดกับเพื่อน ๆ หรือผู้สอนรวมทั้งช่วยแก้ปัญหาพื้นฐานความรู้เพียงแค่มีคอมพิวเตอร์ต่อเข้า อินเทอร์เน็ต ดังนั้น ผู้จัดทำจึงมีแนวความคิดในการทำโครงงานเรื่อง การจัดทำหนังสือ E-book ทั้งนี้เพราะวิชาคอมพิวเตอร์เป็นวิชาพื้นฐานที่ยังขาดสื่อการเรียนการสอน ประเภทกิจกรรมโครงงาน
วัตถุประสงค์
      -เพื่อศึกษาการจัดทำหนังสือE-Book
       -เพื่อศึกษาขั้นตอนการทำโครงงานวิชาคอมพิวเตอร์

สมมุติฐาน
    - สามารถทำหนังสือ E-book ได้
    - มีความรู้ความเข้าใจในการทำขั้นตอนได้มากขึ้น
ขอบเขต
   การสร้างหนังสืออิดเล็กทรอนิกส์ต้องสร้างเล่มโดยทำเป็นหน้าโดยใช้โปรแกรม photoshop cs3 และนำมาประกอบเข้าเล่มโดยใช้โปรแกรม Desktop Author4 และใช้โปรแกรมบล็อกเกอร์เป็นโปรแกรมนำเสนอ
แผนการปฏิบัติงาน

  ขั้นตอนการ  ทำงาน

พฤศจิกายน2558
 ธันวาคม2558
มกราคม2558
1
2
3
4
1
2
3
4
1
2
3
4
 เลือกหัวข้อโครงงาน
_____











ศึกษาค้นคว้าข้อมูล

_________










ขียนรายงานโครงงาน

_________________










     ลงมือปฏิบัติ


_______________________________









    นำเสนอ









______________



ผลที่คาดว่าจะได้รับ
    -ผู้ทำสามารถสร้างหนังสือE-Book ได้สำเร็จ
     -ผู้จัดทำมีความรู้ควาทเข้าใจขั้นตอนการทำโครงงานมากขึ้น
     -ส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยโครงงานมากขึ้น
     -เป็นการนำคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตมาใช้ให้เกิดประโยชน์
     -เป็นแนวทางสำหรับบุคคลที่สนใจในการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม





                                  บทที่2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
 2.1 ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
       หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Book) หรือที่เราเรียกกันว่าอีบุ๊ค (E-Book) เป็นหนังสือที่จัดทำด้วยระบบคอมพิวเตอร์ โดยไม่ต้องพิมพ์เนื้อหาสาระของหนังสือบนกระดาษ หรือจัดพิมพ์เป็นรูปเล่มเหมือนหนังสือทั่วไป แต่หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สามารถเปิดอ่านได้จากจอภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ เหมือนกับเปิดอ่านจากหนังสือโดยตรง แต่มีความสามารถมากกว่าตรงที่ข้อความภายในหนังสือสามารถเชื่อมโยงกับข้อความภายในหนังสือเล่มอื่นได้ โดยเพียงแค่ผู้เรียนคลิกเมาส์ในตำแหน่งที่สนใจแล้ว ก็จะสามารถดึงข้อมูลที่เชื่อมโยงมาแสดงให้อ่านหนังสือต่อได้ทันที โดยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถแสดงได้ทั้งข้อมูลที่เป็นข้อความ รูปภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว นอกจากนี้ยังสามารถเชื่อมโยงและสืบค้นข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตได้ด้วย จึงสามารถสืบค้นข้อมูลต่าง ๆ ได้ทั่วโลกผ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
การประยุกต์ใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Book) ทางการศึกษา เพื่อเป็นสื่อแทนหนังสือ หรือตำรา หรือใช้เพื่อเป็นสื่อเสริมการเรียนด้วยตนเอง ผู้เรียนนำแผ่นซีดีที่บรรจุข้อมูลหนังสือทั้งเล่มมาอ่านด้วยคอมพิวเตอร์ และเมื่อต้องการข้อมูลส่วนใดก็สามารถคัดลอก อ้างอิง และนำมาใช้ได้ทันทีโดยไม่ต้องจัดพิมพ์ใหม่
2.2 ความหมายของ Electronic Book (E-Book)
       E-Book ย่อมาจากคำว่า Electronic Book หมายถึงหนังสือที่สร้างขึ้นด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ โดยปกติมักจะเป็นแฟ้มข้อมูลที่สามารถอ่านเอกสารผ่านทางหน้าจอคอมพิวเตอร์ ทั้งในระบบออฟไลน์ และออนไลน์ คุณลักษณะของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถเชื่อมโยงจุดไปยังส่วนต่าง ๆ ของหนังสือ เว็บไซต์ต่าง ๆ ตลอดจนมีปฏิสัมพันธ์และโต้ตอบกับผู้เรียนได้ นอกจากนั้นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถแทรกภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว แบบทดสอบ และสามารถสั่งพิมพ์เอกสารที่ต้องการออกทางเครื่องพิมพ์ได้ อีกประการหนึ่งที่สำคัญก็คือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถปรับปรุงให้ทันสมัยได้ตลอดเวลา ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้จะไม่มีในหนังสือธรรมดาทั่วไป
 2.3 ประเภทของ Electronic Book (E-Book)
       ประเภทของ Electronic Book (E-book) มีทั้งหมด 4 ประเภท คือ
       2.3.1 Hypertext Markup Language (HTML)
                HTML : เป็นรูปแบบที่ได้รับความนิยมสูงสุด HTML เป็น ภาษามาร์กอั ปออกแบบมาเพื่ อใช้ในการสร้างเว็บเพจ หรือข้อมูลอื่นที่เรียกดูผ่านทางเว็บBrowser เริ่มพั ฒนาโดย ทิม เบอร์เนอรส์ ลี (Tim Berners Lee) สำ หรับภาษา SGML ในปัจจุบัน HTML เป็นมาตรฐานหนึ่ง ของ ISO ซึ่งจัดการโดย World Wide Web Consortium (W3C) ในปัจจุบั นทาง W3C ผลั กดั นรูปแบบของ HTML แบบใหม่ ที่เรียกว่า XHTML ซึ่งเป็นลั กษณะของโครงสร้าง XML แบบหนึ่งที่ มีหลักเกณฑ์ในการกำหนดโครงสร้างของโปรแกรมที่มีรูปแบบที่มาตรฐานกว่า มาทดแทนใช้ HTML รุ่น 4.01 ที่ใช้ กั นอยู่ในปัจจุบั น
        2.3.2 Portable Document Format (PDF)
                 PDF : ไฟล์ ประเภท PDF หรือ Portable Document Format ถูกพั ฒนาโดย Adobe System Inc. เพื่ อจัดเอกสารให้อยู่ในรูปแบบที่เหมือนเอกสารพร้อมพิมพ ์ ไฟล์ ประเภทนี้สามารถใช้ งานได้ ในระบบปฏิบั ติการจำ นวนมากและรวมถึงอุปกรณ์ E-Book Reader ของ Adobe ด้ วยเช่นกั นและยั งคงลั กษณะเอกสารเหมือนต้ นฉบั บเอกสารในรูปแบบ PDF สามารถจัดเก็บ ตั วอั กษร รูปภาพ รูปลายเส้ นในลั กษณะเป็นหน้าหนั งสือ ตั้งแต่หนึ่งหน้าหรือหลายพั นหน้าได้ ใน แฟ้มเดียวกั นPDF เป็นมาตรฐานที่เปิดให้ คนอื่นสามารถเขียนโปรแกรมมา ทำ งานร่วมกั บPDF ได้
       2.3.3 Peanut Markup Language (PML)
               พั ฒนาโดย Peanut Press เพื่อใช้ สำ หรับสร้าง E-Books โดยเฉพาะ อุปกรณ์ พกพาต่างๆ ที่สนั บสนุนไฟล์ ประเภท PML นี้จะสนั บสนุนไฟล์ นามสกุล .pdb ด้ วย
       2.3.4 Extensive Markup Language (XML)
                XML : สำ หรับการใช้ งานทั่ วไป พั ฒนาโดย W3C โดยมีจุดประสงค์เพื่ อเป็น สิ่งที่เอาไว้ติดต่อกันในระบบที่มีความแตกต่างกั น(เช่น ใช้ คอมพิ วเตอร์มี่มีระบบปฏิบัติการคนละ ตัวหรืออาจจะเป็นคนละโปรแกรมประยุ กต์ ที่มีความต้ องการสื่อสารข้ อมูลถึงกั น) และเพื่ อเป็น พื้นฐานในการสร้างภาษามาร์กอั ปเฉพาะทางอีกขั้นหนึ่ง XML พั ฒนามาจาก SGML โดยดัดแปลง ให้มีความซับซ้อนลดน้อยลง XML ใช้ในแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่แตกต่างกัน
2.4 ข้อดีของ Electronic Book (E-Book)
        2.4.1 อ่านที่ไหน เมื่อไหร่ ได้ตลอดเวลา เนื่องจากพกไปได้ตลอดและได้จำนวนมาก
        2.4.2 ประหยัดการตัดไม้ทำลายป่า เพราะไม่ต้องตัดไม้มาทำกระดาษ
        2.4.3 เก็บรักษาได้ง่าย ประหยัดเนื้อที่ในการจัดเก็บ ประหยัดค่าเก็บรักษา
        2.4.4 ค้นหาข้อความได้ ยกเว้นว่าอยู่ในลักษณะของภาพ
        2.4.5 ใช้พื้นที่น้อยในการจัดเก็บ (cd 1 แผ่นสามารถเก็บ e-Book ได้ประมาณ 500 เล่ม)
       2.4.6 อ่านได้ในที่มืด หรือแสงน้อย
       2.4.7 ทำสำเนาได้ง่าย
       2.4.8 จำหน่ายได้ในราคาถูกกว่าในรูปแบบหนังสือ
       2.4.9 อ่านได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง เพราะไม่ยับหรือเสียหายเหมือนกระดาษ
      2.4.10 มีความสะดวกสบาย ลดระยะเวลาในการเดินทางไปเลือกหนังสือ แค่คลิกเดียวก็สามารถเลือกอ่านหนังสือที่ต้องการได้ทันที
      2.4.11 เป็นส่วนหนึ่งในการรักษาธรรมชาติ โดยลดการใช้กระดาษกับ True e-Book
2.5 ข้อเสียของ Electronic Book (E-Book)
       2.5.1 ต้องอาศัยพลังงานในการอ่านตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นไฟฟ้าหรือแบตตารี่
      2.5.2 เสียสุขภาพสายตา จากการได้รับแสงจากอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์
      2.5.3 ขาดความรู้สึก หรืออรรถรส หรือความคลาสสิค
      2.5.4 อาจเกิดปัญหากับการ ลง hardware หรือ software ใหม่หรือแทนที่อันเก่า
      2.5.5 ต้องมีการดูแลไฟล์ให้ดี ไม่ให้เสียหรือสูญหาย
     2.5.6 ต้องมีการดูแลไฟล์ให้ดี ไม่ให้เสียหรือสูญหาย
     2.5.7 เกิดการละเมิดลิขสิทธิ์ได้ง่าย
     2.5.8 ไม่เหมาะกับบาง format เช่น รูปวาด รูปถ่าย แผนที่ใหญ่ เป็นต้น
2.6 ประโยชน์ ของ Electronic Book (E-Book)
      แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหลัก ๆ
      2.6.1สำหรับผู้อ่าน
              2.6.1.1 ขั้นตอนง่ายในการอ่าน และค้นหาหนังสือ
             2.6.1.2 ไม่เปลืองเนื้อที่ในการเก็บหนังสือ
             2.6.1.3 อ่านหนังสือได้จากทุกที่ที่มีการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
     2.6.2 สำหรับห้องสมุด
             2.6.2.1 สะดวกในการให้บริการหนังสือ
             2.6.2.2 ไม่ต้องใช้สถานที่มากในการจัดเก็บหนังสือ และไม่เสียค่าใช้จ่ายในส่วนนี้
            2.6.2.3 ลดงานที่เกิดจากการซ่อม จัดเก็บ และการจัดเรียงหนังสือ
           2.6.2.4 ไม่เสียค่าใช้จ่ายในการจ้างพนักงานมาดูแลและซ่อมแซมหนังสือ
           2.6.2.5 มีรายงานแสดงการเข้ามาอ่านหนังสือ
    2.6.3  สำหรับสำนักพิมพ์และผู้เขียน
           2.6.3.1 ลดขั้นตอนในการจัดทำหนังสือ
          2.6.3.2 ลดค่าใช้จ่ายและความเสี่ยงในการจัดพิมพ์หนังสือ
         2.6.3.3 ลดค่าใช้จ่ายในการจัดจำหน่ายผ่านช่องทางอื่นๆ
         2.6.3.4 เพิ่มช่องทางในการจำหน่ายหนังสือ
         2.6.3.5 เพิ่มช่องทางในการประชาสัมพันธ์ตรงถึงผู้อ่าน
2.7 ข้อจำกัดในการใช้งาน Electronic Book (E-Book)
        เนื่องจากอาจเกิดปัญหากับการ ลง Hardware หรือ Software ใหม่หรือแทนที่อันเก่า ดังนั้นจึงต้องมีโปรแกรมและเครื่องมือในการอื่น คือ Hardware ประเภทเครื่องคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์พกพาอื่นๆ พร้อมทั้งระบบติดตั้งระบบปฏิบัติการหรือ Software ที่ใช้อ่านข้อความต่างๆ ตัวอย่างเช่น Organizer แบบพกพา Pocket PC หรือ PDA เป็นต้น การดึงข้อมูล Electronic Book ซึ่งจะอยู่บนเว็บไซต์ที่ให้บริการทางด้านนี้มาอ่าน ก็จะใช้วิธีการ Download ผ่านทางอินเตอร์เน็ตเสียเป็นส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตามมิใช่ว่า Hardwareทุกชนิดจะอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ได้ เนื่องจากมีข้อจำกัดของชนิดไฟล์บางประเภทนั่นเอง ซึ่งต้องมีการแก้ปัญหาด้วยการนำ Software บางตัวมาช่วยสำหรับ Software ที่ใช้งานกับ E-Book ในปัจจุบันมีสองประเภทคือ Software ที่ใช้อ่านข้อมูลจาก E-Book และ Software ที่ใช้เขียนข้อมูลออกมาเป็น E-Book นอกจากนี้ผู้ใช้ต้องมีการดูแลไฟล์ให้ดี ไม่ให้เสียหรือสูญหาย คำนึงเสมอว่าการอ่านอาจเกิดอันตรายต่อสายตา E-Bookนี้ ไม่เหมาะกับบาง format เช่น รูปวาด รูปถ่าย แผนที่ใหญ่ เป็นต้น





บทที่3
วิธีการดำเนินการ
วัตถุประสงค์
         เพื่อศึกษาการจัดการทำหนังสือE-Book
     เพื่อการศึกษาขั้นตอนการทำโครงงานวิชาคอมพิวเตอร์
3.1 ขั้นตอนการดำเนินการ
      1. คิดหัวข้อโครงงานเพื่อนำเสนอ
      2. ศึกษาค้รคว้ารวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับหัวข้อที่ศึกษา
      3. ศึกษาโปรแกรมPhotoshopcs3 ในการสร้าง
      4. เริ่มจัดทำโครงงาน
      5. ทำเอกสารสรุปรายงานโครงงาน
3.2 วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
     1. ศึกษาข้อมูลเรื่องการจัดทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
     2. ศึกษาเรื่องการทำงานของตัวโปรแกรมต่างๆ ได้แก่
          -Photoshopcs3
        -โปรมแกรม DesktopAuthor4
        -โปรแกรมบล็อกเกอร์



บทที่ 4
 ผลการดำเนินงาน
การจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์พัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา เรื่องการจัดการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เนื้อหาเกี่ยวกับ Electronic Book มีวัตถุประสงค์เพื่อแพร่ความรู้การศึกษามีผลในการนำเนินงานโครงงานดังนี้
   4.1 ผลการพัฒนาโครงงาน
         การพัฒนาโครงงานคือเพื่อการศึกษา Electronic Book เพื่อเผยแพร่และให้ความรู้เกี่ยวกับโครงงานครั้งนี้ โครงงานเรื่องการจัดหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เป็นความรู้ประเภทหนึ่งที่ให้เราอ่านโดยไม่เสียเวลาแต่ก็ต้องรักษาภาพเพราะ อาจจะเสียเวลาเสียสายตาได้ แต่การจัดทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์มีผลดีหลายข้อเช่นกัน






บทที่5
สรุปผลการดำเนินงาน/ข้อเสนอแนะ
       การจัดทำโครงงานจัดการโครงงานคอมพิวเตอร์สื่อเพิ่มเติมการศึกษาเรื่องการจัดทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สรุปผลการดำเนินงานโครงงานและข้อเสนอแนะ
5.1) การดำเนินงานจัดการโครงงาน
        5.11) วัตถุประสงค์ของโครงงาน
                  - เพื่อศึกษาการทำหนังสือ E-Book
                  - เพื่อศึกษาขั้นตอนการทำโครงงานวิชาคอมพิวเตอร์
5.2) สรุปผลการดำเนินงานโครงงาน
       ผลการดำเนินงานนี้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดได้กำหนด เพื่อเป็นสื่อให้ความรู้ผ่านระบบคอมพิวเตอร์เวลาเราอยากอ่านหนังสือก็ไม่ต้องไปหยิบหนังสือไกลเราก็แค่คลิกเมาส์
E- Book เป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลความรู้จักจากสื่อต่างๆ นำเสนอออกมาทางเทคโนยีสมัยใหม่ทำให้ผู้บริการได้รับความบันเทิงในการศึกษาข้อมูลมากขึ้นเพราะการนำเสนอสามารถแสดงผลด้วย ภาพ ข้อความ เสียง สีสัน และภาพเคลื่อนไหวได้